วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
 วัน/เดือน/ปี 12 กุมภาพันธ์ 2557 ครั้งที่ 10
 เวลาเข้าสอน 08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

     วันนี้เป็นสุดท้ายของการเรียนการสอน วิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนออกมานำเสนอสื่อทางคณิตศาสตร์ที่แต่ละกลุ่มทำมา กลุ่มละ2-3 คน โดยผลงานจะเน้นให้ประโยชน์ทางคณิตศาสตร์ 


                                                              ชื่อสื่อ..บันไดงูมหาสนุก


         วิธีการเล่น

1. เกมนี้ผู้เล่นจะต้องเลือกตัวเดินคนละ 1 ตัว 

2. ให้ผู้เล่นแต่ละคนทอยลูกเต๋า คนละ 1 ครั้ง แล้วให้ผู้เล่นเดินตามจำนวน

แต้มของลูกเต๋าที่ทอยได้ จากนั้นให้ผู้เล่นคนถัดไปทอยลูกเต๋าและเล่นไป

เรื่อยๆ
 
3. ระหว่างที่เดินบนช่องทางในบางช่อง ก็จะมีคำสั่งต่างๆให้ผู้เล่นปฏิบัติตาม 

ได้แก่ วันนี้ดวงดีได้เดินไปข้างหน้าอีก 1 ช่อง หยุดเล่น 1 ครั้ง และ มีการนำ

คณิตศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในเกมนี้ คือ สมมติว่า ผู้เล่นทอยลูกเต๋าได้ ได้

แต้มเลข 3 ก็จะต้อง บอกผลลัพท์ ของจำนวน 3+3 เท่ากับเท่าไหร่ และเมื่อผู้

เล่นตอบได้ก็จะได้เดินไปที่ช่องจำนวนของผลลัพท์นั้น หรือ บอกผลลัพท์ของ  
จำนวน 5- 2 ก็จะเท่ากับ3 ผู้เล่นก็จะต้องถอยกลับมา 3 ช่องนั่นเอง

4. ถ้าตัวเดินของคนใดเดินทางถึงเส้นชัยก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะ


นำสื่อไปให้เด็กๆลองเล่น
































 เด็กเล่นแล้วผลเป็นอย่างไร

สำหรับสื่อชิ้นนี้ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินในการเล่น และใน

แต่ละครั้งที่เด็กๆโยนลูกเต๋าเขาก็จะตื่นเต้นและคอยลุ้นว่าจะได้จำนวนแต้มเท่าใด
เด็กได้ทักษะอะไรบ้าง 

- สำหรับสื่อชิ้นนี้ ที่เด็กจะได้ทักษะที่เห็นชัดที่สุดคือ การนับจำนวนตัวเลข ใน

การเดินแต่ละครั้ง - ได้ทักษะทางด้าน การบวก ลบ เลข และบอกผลลัพท์ของจำนวนได้ - เด็กได้ทักษะทางด้านการสังเกต ว่าต้องเดินไปตามทิศทางใด - เด็กได้ทักษะทางคณิตศาสตร์ ในด้านความน่าจะเป็น ปัญหาที่พบเห็น 
- ในบางครั้งเด็กสับสนในการเดินของแต่ละช่อง - เมื่อเด็กเดินไปเจอช่องที่มี จำนวน บวกลบมากเกินไป เด็กก็ไม่สามารถตอบ

ผลลัพท์ได้ 
สรุป (เหมาะสมกับเด็กหรือไม่) 
สื่อชิ้นนี้เหมาะสมกับเด็กที่มีช่วงอายุ 5-6 ปี ขึ้นไป เพราะในสื่อชิ้นนี้มีจำนวน  
ตัวเลขที่มาบวกลบนั้น ทำให้เด็กอายุ ประมาณต่ำกว่า 5 ปี ไม่สามารถบอกคำตอบ

ของผลลัพท์นั้นได้




สื่อของเพื่อนๆ

























ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
1.สามารถนำผลงานของเพื่อนไปต่อยอดและสร้างสรรค์ผลงานชิ้นใหม่ขึ้นมาได้
2.ทำให้ดิฉันได้รู้จักสื่อทางคณิตศาตร์ที่แตกต่างกันไปซึ่งแต่ละแบบให้ความรู้เป็นอย่างมาก
3.สามารถนำสื่อที่ประดิษฐ์ขึ้นไปใช้ทดลองเล่นกับเด็กได้จริงและทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานและได้เรียนรู้ประโยชน์ของสื่อไปพร้อมๆกันด้วย



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่  29 มกราคม 2557
เวลาเข้าสอน 08:00น. เวลาเรียน 08:30น. เวลาเลิกเรียน 12:20 น.

              วันนี้ครูให้แบ่งกลุ่มเขียนแผนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ กลุ่มของดิฉันได้คิดกิจกรรมเขียนแผนดังนี้
- อนุบาล  1 กิจกรรม จังหวะพาเพลิน
- อนุบาล  2 กิจกรรม เวลาหรรษา
- อนุบาล  3 กิจกรรม รูปทรงแสนสนุก


       กลุ่มของดิฉันช่วยกันเขียนกิจกรรม













  จากนั้น..เมื่อเขียนแผนเสร็จก็ออกไปนำเสนอ























**พอเขียนแผนจัดประสบการณ์เสร็จทุกกลุ่มอาจารย์ก็ให้ในกลุ่มเลือกเแผนที่ทุกคนในกลุ่มคิดว่าดีที่สุดแล้วออกมานำเสนอหน้าห้องเรียน เพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ร่วมกัน

ประโยชน์ที่ได้รับที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

1.สามารถนำไปใช้สอนเด็กในชีวิตจริงเมื่อเราออกไปฝึกสอนได้เป็นอย่างดี

2.ทำให้เราได้เรียนรู้ว่าแผนการจัดประสบการณ์วิชาคณิตศาสตร์ต้องเขียนแบบไหนและมีเนื่อหาประเด็นแบบไหน โดยที่ทำให้

เด็กไม่รู้สึกเบื่อ

3.ทำให้เราได้รู้ว่าสาระแต่ละสาระของเด็กแต่ละช่วงวัยมีความยากง่ายแตกต่างกันอย่างไร

4.เราสามารถแผนการจัดประสบการณ์ไปเขียนบูรณาการเพิ่มเติมกับวิชาอื่นๆที่เด็กควรจะเรียนรู้ได้

5.ทำให้เราได้พัฒนาความสามารถในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์และการสอนเด็กในครั้งต่อๆไป


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่ 22 มกราคม 2557 
เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเรียน 08.30 น.เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

กิจกรรมวันนี้ 

วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรม เกี่ยวกับเรื่องพีชคณิต โดยมีรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม เขามาประกอบภาพ ซึ่งภาพจะทำเป็นการเรียงลำดับจำนวนตัวเลขหรือ สอนเรื่องสีต่างๆก็ได้ โดยแบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มละ 5-6 คน


























การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

- เด็กได้เรียนรู้รูปทรงต่างๆทางคณิตศาสตร์ เช่น รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม เป็นต้น
-
- เด็กได้รูู้จักแยกสีต่างได้เรียนรู้เรื่องสีที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน

- เด็กได้เรียนรู้การนับจำนวน ตัวเลข

- เด็กได้รู้จักผักแต่ละชนิดที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน

- เด็กได้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ในการเรียนรู้


  

                                               ****************************************************************



กิจกรรมที่ 2


                                                                     การเปรียบเทืยบ


ตัวอย่างของครู



























           ประโยชน์ที่ได้รับ ทำให้รู้จักแยกแยะสิ่งต่างๆที่อยู่แต่ละห้องว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ระหว่างห้องครัวกับห้องนอน เพราะเป็นสิ่งอยู่อยู่ใกล้ตัวเด็กและเป็นสิ่งที่ควรรู้ สอนให้เด็กได้รู้จักสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว



 1.การเปรียบเทียบของใช้ระหว่าง ห้องนอน กับห้องครัว



ประโยชน์ที่ได้รับ ทำให้รู้จักแยกแยะสิ่งต่างๆที่อยู่แต่ละห้องว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ระหว่างห้องครัวกับห้องนอน เพราะเป็นสิ่งอยู่อยู่ใกล้ตัวเด็กและเป็นสิ่งที่ควรรู้ สอนให้เด็กได้รู้จักสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว

2.การเปรียบเทียบ ความเหมือน- ความต่าง



ประโยชน์ที่ได้รับ ทำให้เด็กได้รู้จักเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก ได้สังเกต ได้จินตนาการ เช่น เด็กได้คิดและจินตนาการว่ามีอะไรบ้าง ทีี่แตกต่างกันระหว่าง วัวกับ แมว ซึ่งเด็กจะได้ฝึกการคิดได้ใช้สมอง ได้เรียนรู้


3.การสำรวจ สิ่งที่ชอบ



-
ประโยชน์ที่ได้รับ   ทำให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น กล้าที่จะแสดงออก และได้บอกสิ่งที่ตนเองชอบไม่ชอบ ซึ่งทำให้เด็กได้รู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนทำให้อยากที่จะเรียน และอยากมาโรงเรียน


ประโยชน์ที่ได้รับ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำ

1.สามารถนำไปใช้ในการฝึกสอนเด็กในเรื่องคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

2.สามารถนำความรู้ที่ได้รับ เช่นการเปรียบเทียบ การสังเกต การเรียงลำดับ การแสดงความคิดเห็น ซึ่ง

เป็นพื้นฐานสำคัญของเด็กปฐมวัยไปประยุกต์ใช้ในวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้

3.ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

4.ทำให้ได้เรียนรู้ว่าเด็กปฐมวัยมีการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์อย่างไรบ้าง

5.ทำให้ได้เรียนรู้หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างดี



บันทึกอนุทิน วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น วัน/เดือน/ปี 15 มกราคม 2557 ครั้งที่ 7 เวลาเข้าสอน 08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

วันนี้อาจารย์ได้ให้ช่วยกันแต่งนิทานเล่มใหญ่ร่วมกันในห้องเรียน
                                                               

                                                              เรื่องลูกหมูเก็บฟืน

              เรื่องมีอยู่ว่า..... กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม   ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่ หลังละ 2 ตัว หมูแต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า  หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปที่ทำงานซึ่งไกลมาก   หมูที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงาน  หมูที่อยู่บ้านหลังวงกลมเดินทางไปเก็บฟืนในป่า  ซึ่งในป่ามีฟื้นเยอะแยะเลย เจ้าหมู 2 ตัวนี้ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับสามเหลี่ยมเพื่อมาช่วยเก็บฟืนในป่า   หมูทั้ง 6 ตัวช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้มีทั้งหมด 10 ท่อน  แล้วหมูก็นำฟืนสามท่อนไปจุดไฟเพื่อทำกับข้าว หมูก็เลยเหลือฟืนทั้งหมด 7 ท่อน  และหมูก็นำฟืน 7 ท่อนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในวันต่อไป...
      อาจารย์ได้แบ่งให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทำหนังสือ โดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ4-5 คนให้ช่วนกันทำหนังสือกลุ่มละ 1หน้า และนำทุกกลุ่มมารวมกันเป็นหนังสือนิทานเล่มใหญ่ 1 เล่ม 





ประโยชน์ที่ได้รับและการนำไปใช้ในการเรียนการสอน
- เด็กสามารถจำแนกสี 
- เด็กสามารถบอกรูปทรงต่างๆได้
- สามารถเล่านิทานให้เด็กๆฟัง


                       ...................................................................................................................................


วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

                                                   

                                                                      บันทึกอนุทิน

                                  วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                                 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

              วัน/เดือน/ปี...8....มกราคม.....2557...ครั้งที่...10....เวลาเรียน..08.30-12.20.... น.



****ไม่ได้มาเรียนเพราะกลับต่างจังหวัด******



                                 กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
                        เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
                 -ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ ที่เป็นขั้นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา
                        สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ (สิ่งที่เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้)
                 - สาระที่1 จำนวนและการดำเนินกลาง
                 - สาระที่2 การวัด
                 - สาระที่3 เรขาคณิต
                 - สาระที่4 พีชคณิต
                 - สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                 - สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคริตศาสตร์
                        คุณภาพเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
                 1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
                  - จำนวนนับ 1 ถึง 10
                  - เข้าใจหลักการนับ
                  - รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
                  - รู้ค่าของจำนวน
                  - เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
                  - การรวมและการแยกกลุ่ม
                 2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
                  - เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
                  - รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
                  - เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
                 3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
                  - ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
                  - รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
                 4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
                 5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
                 6. มีสาระทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
                       สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
                สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
            - มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
                จำนวน
                - การใช้จำนวนบอก ปริมาณที่ได้จากการนับ
                - การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
                - การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
                - การเปรียบเทียบจำนวน
                - การเรียงลำดับจำนวน




      การรวมและการแยกกลุ่ม
               - ความหมายของการรวม 
               - การรวมสิ่งต่างๆ สองกลุ่มที่มีไม่เกิน 10
               - ความหมายของการแยก
               - การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
                  สาระที่ 2 การวัด
            - มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกาวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตรเงินและเวลา                  ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
               - การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
               - การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
               - การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง



     เงิน
                     - ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
                         เวลา
                     - ช่วงเวลาในแต่ละวัน
                     - ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน
                        สาระที่ 3 เรขาคณิต
                       - มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง
                       มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำนวนรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการวัดกระทำ
                          ตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง
                      - การบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง ของสิ่งต่างๆ
                          รูปเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิตสองมิติ
                      - ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
                      - รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
                      - การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
                      - การสร้างสรรค์งาน ศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ








     สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                           - มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม
                                สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
                          - การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความารู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                                       


ผลงานที่ทำในเรียน(ของเพื่อน)






       สิ่งที่ได้รับและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
                    ได้รู้กรอบมาตรฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัย สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนมาไปใช้ในอนาคตได้ รู้สาระที่เด็กปฐมวัยต้องได้เรียนตามมาตรฐาน เช่น จำนวน การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น เป็นต้น ได้รู้คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัยต้องมีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ พื้นฐานทางเรขาคณิต เข้าใจแบบรูปและรูปร่างที่สัมพันธ์กัน สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนในวันนี้ไปใช้และสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้ เพื่อให้เด็กได้มีคุณภาพที่ถูกต้องตามมาตรฐาน




    ****ได้ดูของ น.ส.ศุภาวรรณ   ประกอบกิจศุภาวรรณ ประกอบกิจ******